วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

ตอนที่ 7 Benchmarking...เปรียบเทียบเพื่อปรับปรุง




.
เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 7 Benchmarking...เปรียบเทียบเพื่อปรับปรุง


คุณอรไม่ชอบเลียนแบบ ..เมื่อมีผู้เสนอให้ใช้วิธี Benchmarking หรือการดูตัวอย่างที่ดีจากบริษัทอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงงาน เธอจึงค้านหัวชนฝา อย่างนี้ต้องอธิบายสักนิดแล้วล่ะว่า Benchmarking จริงๆ แล้วไม่ใช่การเลียนแบบ...


มีคำถามอยู่ 4 ข้อที่จะช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำ Benchmarking ได้ง่ายขึ้น นั่นคือ


1.เราอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในตลาด?


2.ใครทำได้ดีที่สุด?.


3.เขาทำได้อย่างไร?


4. และเราจะทำให้ดีกว่าเขาได้อย่างไร?


เช่น เรากำหนดจะปรับปรุงกระบวนการส่งมอบชิ้นงาน จากสายการผลิตหนึ่งไปสู่อีกสายการผลิตหนึ่ง เริ่มต้นจาก ประเมินตนเอง พบว่าใช้เวลาส่งมอบนาน 7 นาที จากนั้นจึงค้นหาข้อมูลว่าหน่วยงานใดมีกระบวนการส่งมอบชิ้นงานน้อยกว่า เมื่อได้แล้วก็คัดเลือกหน่วยงานนั้นขึ้นมาเป็นตัว Benchmark หรือเกณฑ์ที่เราต้องการให้ไปถึง โดยศึกษาว่าเขามีวิธีปฏิบัติ หรือ Best Practices อย่างไร จากนั้นจึงนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเอง จะเห็นว่า Benchmarking ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ แต่เป็นการเสาะหาและคัดเลือกวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ Best Practices จากหน่วยงานอื่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับการทำงานในหน่วยงานของตนเองครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น