วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

อาหารสมอง ตอนที่ 4 เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (2 )




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 4 เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (2 )


เมื่อคุณโอฬารเริ่มนำระบบต่างๆมาพัฒนาคนองค์การ พนักงานก็ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังช่วยให้ผลผลิตขององค์การเพิ่มสูงขึ้นด้วย เอ…..คุณโอฬารใช้วิธีใดบ้างนะ


ผู้บริหารสามารถหาวิธีการหรือเทคนิคที่เหมาะสม มาใช้เพื่อพัฒนาคนของตนได้หลายวิธี


วิธีแรกคือ การส่งไปทำงานเฉพาะกิจ โดยส่งพนักงานที่จะพัฒนาเข้าไปทำงานที่หน่วยงานภายนอกระยะหนึ่ง ในบทบาทที่แตกต่างจากการทำงานที่เดิม เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้เห็นโอกาสในการทำงานของหน่วยงานอื่น


วิธีที่สองคือ การมอบหมายให้ทำโครงการ โดยมอบหมายให้พนักงานทำโครงการใดโครงการหนึ่ง เช่นการสำรวจปัญหาในการทำงาน แล้วให้จัดทำรายงานเสนอ


วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานเห็นและเข้าใจการทำงานในส่วนต่างๆของหน่วยงาน ทั้งยังทำให้เขารู้สึกว่าเป็นสิ่งท้าทายและอยากเรียนรู้


และวิธีที่สุดท้ายคือ การให้เป็นผู้ติดตาม โดยมอบหมายให้พนักงานติดตามหรือคอยเป็นผู้ช่วยเจ้าของงาน โดยไม่ต้องระบุขอบเขตหรือความรับผิดชอบที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานได้ทราบว่าเขาจะต้องเผชิญกับอะไรบ้างถ้าได้ทำงานในตำแหน่งนั้นๆ และยังทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างเจ้าของงานกับพนักงานที่เข้ารับการพัฒนาอีกด้วยครับ…..





อาหารสมอง ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )


คุณโอฬารรู้ดีว่าการพัฒนาคนในองค์การมีความสำคัญและช่วยเพิ่มผลผลิตได้ เขาจึงเริ่มหาวิธีพัฒนาคนในองค์การในลักษณะต่างๆกัน ส่วนจะมีวิธีใดบ้างไปติดตามกันเลยค่ะ……


การพัฒนาคนในองค์การสามารถทำได้หลายวิธี วิธีแรกเป็นการแนะนำงานโดยหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา โดยให้คำแนะนำและช่วยเหลือพนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เขาเรียนรู้ทักษะหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ สำหรับใช้แก้ปัญหาในการทำงาน หรือช่วยพัฒนาการทำงานในสายอาชีพ….


วิธีนี้เป็นการพัฒนารายบุคคลที่มีจุดเน้นชัดเจน ลงลึกในรายละเอียด และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานจริงๆ


วิธีที่สองคือระบบพี่เลี้ยง โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำพนักงานในระหว่างการพัฒนา


วิธีนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน และสามารถถ่ายทอดได้รวดเร็ว แต่คนที่รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงต้องทำด้วยความเต็มใจ และไม่ใช้วิธีการแบบสั่งอย่างเดียว


ส่วนวิธีที่สามคือ การฝึกงาน โดยส่งพนักงานไปทำงานในฝ่ายต่างๆของหน่วยงาน ใช้เวลาฝ่ายละไม่เกิน 6 เดือน เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่หลากหลาย


วิธีนี้ช่วยให้หัวหน้าสามารถพิจารณาได้ว่าพนักงานผู้นั้นเหมาะกับการทำงานในฝ่ายใดครับ




อาหารสมอง ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )


คุณโอฬารรู้ดีว่าการพัฒนาคนในองค์การมีความสำคัญและช่วยเพิ่มผลผลิตได้ เขาจึงเริ่มหาวิธีพัฒนาคนในองค์การในลักษณะต่างๆกัน ส่วนจะมีวิธีใดบ้างไปติดตามกันเลยค่ะ……


การพัฒนาคนในองค์การสามารถทำได้หลายวิธี


วิธีแรกเป็นการแนะนำงานโดยหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา โดยให้คำแนะนำและช่วยเหลือพนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เขาเรียนรู้ทักษะหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ สำหรับใช้แก้ปัญหาในการทำงาน หรือช่วยพัฒนาการทำงานในสายอาชีพ….


วิธีนี้เป็นการพัฒนารายบุคคลที่มีจุดเน้นชัดเจน ลงลึกในรายละเอียด และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานจริงๆ


วิธีที่สองคือระบบพี่เลี้ยง โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำพนักงานในระหว่างการพัฒนา


วิธีนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน และสามารถถ่ายทอดได้รวดเร็ว แต่คนที่รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงต้องทำด้วยความเต็มใจ และไม่ใช้วิธีการแบบสั่งอย่างเดียว


ส่วนวิธีที่สามคือ การฝึกงาน โดยส่งพนักงานไปทำงานในฝ่ายต่างๆของหน่วยงาน ใช้เวลาฝ่ายละไม่เกิน 6 เดือน เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่หลากหลาย


วิธีนี้ช่วยให้หัวหน้าสามารถพิจารณาได้ว่าพนักงานผู้นั้นเหมาะกับการทำงานในฝ่ายใดครับ




อาหารสมอง ตอนที่ 2 : ขั้นตอนการทำ GP




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 2 : ขั้นตอนการทำ GP


ในตอนที่แล้วเราแนะนำคุณนพดลไปว่า GP คือกระบวนการพัฒนาและจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์การ หลายคนเลยอยากรู้ต่อไปค่ะว่า ขั้นตอนการนำ GP มาใช้เพิ่มผลผลิตในองค์การมีกี่ขั้นตอนคะ


การนำ GP มาใช้ในองค์การมี 6 ขั้นตอนดังนี้ครับ


1. ขั้นเตรียมการ เป็นการแต่งตั้งทีมงาน ผังโครงสร้าง และกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งทำการสำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินการ


2. วางแผน โดยระบุและประเมินปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงสาเหตุ เพื่อจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาตามความรุนแรงหรือเร่งด่วน


3. การระบุ ประเมิน และคัดเลือกแนวทาง GP ไปปฏิบัติ เช่นการระบุถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการระดมความคิดเห็นจากหลายๆฝ่าย และคัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดกับองค์การนั้นๆ


4. การนำไปปฏิบัติ โดยกำหนดแผนและขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อปฏิบัติตามแผน รวมทั้งมีการฝึกอบรม เพื่อสร้างจิตสำนึกและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้อง


5. การเฝ้าระวัง เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน และทบทวนผลการดำเนินงานของผู้บริหาร


6. การรักษาระบบ โดยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องครับ…





อาหารสมอง ตอนที่ 1: GP คืออะไร




อาหารสมอง 2001 โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ


เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 1: GP คืออะไร


คุณนพดลได้ยินเจ้านายบอกว่า ถ้าองค์การใดนำกระบวนการ GP มาใช้อย่างถูกต้อง จะพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่อง แถมยังช่วยลดต้นทุนและความสูญเสียต่างๆ ได้อีกมาก คุณนพดลเลยอยากรู้ว่า กระบวนการ GP คืออะไรคะ


GP หรือ Green Productivity เป็นแนวคิดในการป้องกันและลดมลพิษที่ต้นเหตุ เน้นให้เกิดการเพิ่มผลผลิตโดยตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม …


แนวคิดของ GP ก็เหมือนกับวงจรของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เพราะสามารถแบ่งออกเป็นช่วงการวางแผน ,การนำไปปฏิบัติ, การติดตามและวัดผล รวมทั้งการทบทวนตัดสินผลการดำเนินการ…


แต่ต่างกันเล็กน้อยตรงที่ การทำ GP ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การจัดทำเอกสาร ควบคุมเอกสาร และจัดทำบันทึก


ดังนั้นจึงเหมาะกับ SMEs หรือหน่วยงานที่ยังไม่มีความพร้อมในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001


แต่ท้ายที่สุดแล้ว การนำระบบ GP และ ISO 14001 ไปใช้ จะทำให้องค์การนั้นๆ มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งนั่นหมายความว่าองค์การจะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งตามแนวความคิดของ KAIZENครับ..



จาก 1 ใน อาหารสมอง 2001 โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มีจำนวน 40 ตอน ( ตอนที่ 1 - 40 )




ตอนที่ 24 E-C-R-S ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 24 E-C-R-S ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน


คุณสุรีย์..เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลพนักงาน เริ่มคิดมาก เพราะมีเสียงบ่นว่าทำงานช้า ทั้งที่ก็ทำเต็ม Speed แล้ว แต่ขั้นตอนที่บริษัทวางไว้ซิคะ ..ซับซ้อนเหลือเกิน คือเมื่อรู้ชื่อคนมาติดต่อ ก็ต้องไปค้นที่บัตรหมายเลขก่อน ว่าชื่อนี้อยู่ในแฟ้มหมายเลขอะไร พอได้หมายเลขแฟ้มนั่นหล่ะค่ะ ถึงค่อยไปหาแฟ้มที่ต้องการ ยังกะเล่นเกมส์หาขุมทรัพย์อย่างนี้ ..จะไม่ช้าได้ยังไงคะ


กรณีนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณสุรีย์แล้วหล่ะครับ แต่เกิดจากระบบการทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น แนะนำให้ใช้หลัก E-C-R-S มาแก้ไขครับ


E ย่อมาจากคำว่า Eliminate คือขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น


C มาจาก Combine คือรวมขั้นตอนหรือวิธีการทำงานเข้าด้วยกัน


R มาจาก Re-arrange จัดเรียงใหม่ ปรับขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


และ S คือ Simplify ทำให้ง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากซับซ้อนของงาน


หลัก E-C-R-S นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดพร้อมกัน จะเลือกใช้ E C R หรือ S ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ตามความเหมาะสม


เช่นกรณีคุณสุรีย์ อาจเพียงแค่ Eliminate ตัดขั้นตอนหมายเลขแฟ้มออกไป แล้ว Re-arrange ใหม่ด้วยการเรียงแฟ้มตามตัวอักษรและทำดัชนีให้เห็นง่าย ๆ แค่นี้ก็ลดขั้นตอน ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น …


คุณผู้ฟังหล่ะครับ งานที่ทำอยู่ หรือแผนกที่คุณรับผิดชอบ มีขั้นตอนไหนที่สามารถทำ E-C-R-S หรือ ขจัดทิ้ง รวมกัน จัดเรียงใหม่ ทำให้ง่ายขึ้นได้บ้างหรือไม่ ถ้ามีก็อย่ารอช้าที่จะพัฒนางานให้ดีขึ้นนะครับ




ตอนที่ 24 E-C-R-S ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน

เนื้อหาสารคี

ตอนที่ 24 E-C-R-S

ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน คุณสุรีย์..เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลพนักงาน เริ่มคิดมาก เพราะมีเสียงบ่นว่าทำงานช้า ทั้งที่ก็ทำเต็ม Speed แล้ว แต่ขั้นตอนที่บริษัทวางไว้ซิคะ ..ซับซ้อนเหลือเกิน คือเมื่อรู้ชื่อคนมาติดต่อ ก็ต้องไปค้นที่บัตรหมายเลขก่อน ว่าชื่อนี้อยู่ในแฟ้มหมายเลขอะไร พอได้หมายเลขแฟ้มนั่นหล่ะค่ะ ถึงค่อยไปหาแฟ้มที่ต้องการ ยังกะเล่นเกมส์หาขุมทรัพย์อย่างนี้ ..จะไม่ช้าได้ยังไงคะ

กรณีนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณสุรีย์แล้วหล่ะครับ แต่เกิดจากระบบการทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น แนะนำให้ใช้หลัก E-C-R-S มาแก้ไขครับ

E ย่อมาจากคำว่า Eliminate คือขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น

C มาจาก Combine คือรวมขั้นตอนหรือวิธีการทำงานเข้าด้วยกัน

R มาจาก Re-arrange จัดเรียงใหม่ ปรับขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

และ S คือ Simplify ทำให้ง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากซับซ้อนของงาน

หลัก E-C-R-S นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดพร้อมกัน จะเลือกใช้ E C R หรือ S ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ตามความเหมาะสม

เช่นกรณีคุณสุรีย์ อาจเพียงแค่ Eliminate ตัดขั้นตอนหมายเลขแฟ้มออกไป แล้ว Re-arrange ใหม่ด้วยการเรียงแฟ้มตามตัวอักษรและทำดัชนีให้เห็นง่าย ๆ แค่นี้ก็ลดขั้นตอน ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น …

คุณผู้ฟังหล่ะครับ งานที่ทำอยู่ หรือแผนกที่คุณรับผิดชอบ มีขั้นตอนไหนที่สามารถทำ E-C-R-S หรือ ขจัดทิ้ง รวมกัน จัดเรียงใหม่ ทำให้ง่ายขึ้นได้บ้างหรือไม่ ถ้ามีก็อย่ารอช้าที่จะพัฒนางานให้ดีขึ้นนะครับ


ตอนที่ 23 จูงใจคนทำงานด้วยสิ่งที่ไม่ใช่เงิน




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 23 จูงใจคนทำงานด้วยสิ่งที่ไม่ใช่เงิน


คุณอำนวย มักให้คำตอบแก่เพื่อนหรือลูกค้าที่เป็นผู้บริหาร ที่ถามถึงเทคนิคบริหารลูกน้องให้รักบริษัท ว่านอกจากเงินเดือน โอที และโบนัสปกติแล้ว เขายังจูงใจลูกน้องด้วยสิ่งที่ไม่ใช่เงินอีกด้วยค่ะ..


ครับ..วิธีที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้เพื่อจูงใจให้พนักงานรู้สึกพอใจในงาน และสนุกที่จะทำงานมีหลายวิธี เช่น จูงใจด้วยสิ่งที่ไม่ใช่เงิน คือ


1. ต้องทำให้พนักงานรู้สึกว่าหน่วยงานมั่นคง..


2. มีสวัสดิการที่ดี..


3. ให้พนักงานเห็นว่า ทำงานแล้วมีโอกาสก้าวหน้า มีอนาคต มีตำแหน่งที่ดี..


4. มีระบบการให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม คุ้มกับผลงาน นั่นหมายถึงงานเสี่ยงมากก็ควรจะได้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม..


5. มีนายที่ดี ทำงานด้วยแล้วสบายใจ..


6. มีเพื่อนร่วมงานที่ดี..


7. ให้พนักงานมีอำนาจหน้าที่ที่แน่นอน รู้ว่าตนจะทำอะไรได้บ้างและขึ้นกับใคร..


8. เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน..


9. มีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำงาน เช่นวันเสาร์-อาทิตย์ได้หยุดงาน หรือหลังจาก 17.00 น.ใครจะไม่ทำงานก็ได้..


10. ให้เขาได้ทำงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ..




ตอนที่ 22 ขวัญและกำลังใจ..สำคัญอย่างไร




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 22 ขวัญและกำลังใจ..สำคัญอย่างไร


บริษัทของคุณราณีไม่โตสักที การเพิ่มผลผลิตลดลง พนักงานลาออกกันทุกเดือน ขาดพนักงานที่เชี่ยวชาญในการทำงาน ต้องสอนงานคนใหม่อยู่บ่อยๆ


เแหม..ใครจะทนอยู่ไหวล่ะคะ งานเยอะเงินน้อย..โบนัสไม่มี..โอทีไม่ได้.. สงสัยคุณราณีต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้ลูกน้องบ้างนะคะ


ขวัญและกำลังใจในการทำงาน หมายถึงสภาพจิตใจของพนักงาน เช่น ความรู้สึกหรือความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยและสภาพแวดล้อมในหน่วยงานรอบๆตัว ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาโต้กลับในรูปของพฤติกรรมการทำงาน..


ซึ่งความสำคัญก็อยู่ตรงที่ หากขวัญและกำลังใจของพนักงานตกต่ำ พวกเขาก็จะไม่กระตือรือร้นในการทำงาน ส่งผลกระทบให้งานล่าช้า ผลผลิตขาดคุณภาพ.. ในทางกลับกันหากพนักงานมีขวัญและกำลังใจดีเยี่ยม พวกเขาก็จะเกิดความมุ่งมั่น พร้อมที่จะทุ่มเทเพื่อพัฒนางานและหน่วยงานอย่างเต็มความสามารถ..


เชื่อกันว่าแม้จะมีพนักงานที่เก่ง แต่ถ้าขาดขวัญและกำลังใจที่ดี ก็เหมือนรถที่มีเครื่องยนต์ดี แต่มีน้ำมันเหลืออยู่แค่ก้นถัง วิ่งไปไม่ไกลก็ต้องจอด แต่ถ้าพนักงานทั้งเก่งและมีขวัญและกำลังใจดี พร้อมที่จะทุ่มเทเพื่อหน่วยงาน บริษัทเล็กๆ ก็อาจวิ่งแซงคู่แข่งรายใหญ่ได้เหมือนกัน


ดังนั้น ผู้บริหารจะละเลยเรื่องนี้ไปไม่ได้ ต้องบำรุงขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานภายในองค์การด้วยนะครับ...




เนื้อหาสารคดีตอนที่ 21 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารไม่ควรทำ (ตอนที่ 2)




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 21 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารไม่ควรทำ (ตอนที่ 2)


คุณเยาวภาเป็นผู้บริหารประเภทที่ปล่อยให้ลูกน้องทำงานกันเอง แก้ไขปัญหากันเอง ฉันขอดูแต่ผลงานที่ออกมาเท่านั้น สินค้าของเธอก็เลยไม่เกิดการพัฒนา คู่แข่งรายเล็กแซงหน้าไปหลายเจ้าแล้วล่ะค่ะ


นั่นเป็นเพราะวิธีการบริหารงานของคุณเยาวภานั้นตรงกับบัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารไม่ควรทำ คือ


1. คิดว่าการเป็นผู้บริหารแล้วไม่มีหน้าที่ต้องปรับปรุงงาน คิดว่าเมื่อเป็นผู้บริหารแล้วมีหน้าที่สั่งงานอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องลงมาช่วยหรือทำหน้าที่ในการปรับปรุงงาน


2. ตัดสินหรือวัดค่าจากผลงานเท่านั้น ไม่สนใจกระบวนการ จริงๆแล้วผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการด้วย เพราะเราสามารถปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานหรือผลผลิตที่สูงขึ้นได้


3. มองไม่เห็นความสูญเสียที่จะเป็นไปได้ ชอบคิดว่าการสูญเสียมีไม่กี่อย่าง จึงไม่ระวังการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้


4. ไม่วิจารณ์ผลงานที่ดี ชอบคิดว่าได้ผลงานที่ดีที่สุดแล้ว จึงไม่คิดหาทางปรับปรุงต่อ หรือไม่มีการกระตุ้นให้มีการปรับปรุงมาตรฐานที่สูงขึ้น


5. ชอบการประนีประนอม ด้วยความเกรงใจหรือไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวผิดพลาด ทั้งๆ ที่ในหลายๆ กรณีผู้บริหารไม่ควรประนีประนอม โดยเฉพาะเรื่องที่ยุ่งยากและจำเป็นต้องใช้ความเป็นผู้นำเพื่อหาทางออกครับ.





เนื้อหาสารคดี ตอนที่ 20 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารไม่ควรทำ (ตอนที่ 1)




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 20 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารไม่ควรทำ (ตอนที่ 1)


เมื่อรับคำสั่งจากคุณประพันธ์มาแล้ว ทุกคนในบริษัทไม่มีใครกล้ากลับไปถามเพิ่มเติมอีก กลัวถูกตำหนิว่าฟังไม่รู้เรื่อง เอ..กรณีแบบนี้เข้าข่ายสิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรทำหรือเปล่าคะ..


ใช่แล้วครับ…การกระทำของคุณประพันธ์เข้าข่ายบัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารไม่ควรทำอยู่ 5 ประการ ดังนี้ครับ


1.คิดว่าการเป็นผู้บริหารนั้นคือ"การสั่งการ"แปลว่าจัดการได้แล้ว เพราะจริงๆแล้วการบริหารหรือการจัดการนั้น หมายถึงต้องชี้แนะและให้ความช่วยเหลือด้วย


2.บริหารสิ่งที่มองไม่เห็น คือรับฟังเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ได้เห็นด้วยตา แล้วนำมาดำเนินการ


3. มุ่งแต่ตรวจสอบ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเดิมๆ ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก


4. มุ่งเน้นที่การรับฟังรายงานและการประชุมมากเกินไป จะทำให้ไม่ได้ออกไปสัมผัสเรื่องจริงด้วยตาของตนเอง


และ 5. คิดว่า การวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไข ก็เพียงพอแล้ว


แต่จริงๆแล้วต้องเพิ่มขั้นตอน ตรวจสอบหลังการวางแผนก่อนลงมืออีก 1 ขั้นตอน จะช่วยให้โอกาสผิดพลาดมีน้อย หรือได้รับความเสียหายน้อยลงครับ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารไม่ควรทำ ส่วนที่เหลือจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ในตอนต่อไปครับ





เนื้อหาสารคดี ตอนที่ 19 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารควรทำ (ตอนที่ 2)




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 19 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารควรทำ (ตอนที่ 2)


เพราะคนเก่าสร้างปมปัญหาไว้มากมาย คุณสมศักดิ์ผู้บริหารคนใหม่เลยค่อนข้างหนักใจ แต่ก็ไม่ท้อเพราะเขาเตรียมนำหลักการแก้ปัญหาใน"บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารควรทำ"มาใช้ค่ะ..


นบัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารควรทำ จะแนะนำหลักบริหารที่สำคัญๆ ไว้ โดยมีถึง 6 ประการที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา นั่นคือ เมื่อตั้งเป้าหมายไว้แล้ว อย่าลืมวัดผลการปฏิบัติด้วยนะ ครับ..


1. ตั้งสมมติฐานของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ซึ่งจะทำให้เราแก้ไขได้ตรงจุด


2. มุ่งแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ตำหนิหรือหาคนผิด.. ทันทีที่มีปัญหาเกิดขึ้น ก็ต้องรีบหาทางแก้ไขทันที อย่ามัวเสียเวลาหาตัวคนทำผิดเพื่อตำหนิ..


3. จัดการที่สาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ คือต้องมั่นใจว่าจับประเด็นสาเหตุของปัญหาถูกต้อง


4. ทฤษฎีเกิดจากประสบการณ์ ก็คือบางปัญหาอาจจะต้องทดลองแก้ไขหลายๆครั้ง แต่ที่สุดแล้วผู้บริหารจะสามารถกำหนดวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องได้อย่างมั่นใจ


5. ขจัดการพูดที่ไร้การกระทำ หมายถึงถ้าพูดอะไรไปแล้วต้องลงมือทำทันทีอย่าดีแต่พูด แล้วแก้ไขและหาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก


6. บริหารเป้าหมาย คือไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหรือบริหารกระบวนการใดก็ตาม เมื่อตั้งเป้าหมายไว้แล้ว อย่าลืมวัดผลการปฏิบัติด้วยนะ ครับ





ตอนที่ 18 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารควรทำ (ตอนที่ 1)


เนื้อหาสารคดี




ตอนที่ 18 บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารควรทำ (ตอนที่ 1)


คุณวัชรีเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถ ลูกค้าชื่นชมทุกราย แต่สำหรับลูกน้องแล้ว เธอเป็นเจ้านายที่บริหารไม่ค่อยเป็นสักเท่าไหร่ บางงานเธอเหมาทำคนเดียวหมด เพราะอยากให้ออกมาดีที่สุด นานๆ จะให้ลูกน้องได้คิดหรือแสดงฝีมือสักครั้ง.. เอ..บริหารงานแบบนี้จะดีหรือคะ?


บริหารงานแบบนี้คุณวัชรีต้องทำงานหนักมาก ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตน้อยหรือให้บริการไม่ทัน


แนะนำให้ใช้หลักการบริหาร 4 ประการแรกใน"บัญญัติ 10 ประการที่ผู้บริหารควรทำ"มาปรับใช้ครับ.. นั่นก็คือ


1. ต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน คือแทนที่จะทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ในครั้งเดียว ก็เลือกทำงานที่สำคัญที่สุดก่อน..


2. ต้องรู้จักกระจายงาน ย่อยงานให้เล็กลงแล้วมอบหมายให้คนอื่นรับผิดชอบตามความเหมาะสม


3. ผู้บริหารต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและระบุปัญหาได้ หมายถึงถ้าวางแผนงานและมอบหมายให้แต่ละคนแล้ว ก็ต้องบอกให้ชัดเจนว่าต้องทำอะไรและต้องเสร็จเมื่อไร โดยผู้บริหารต้องติดตามและให้คำแนะนำได้ด้วย


และ 4.อาจต้องอาศัยเทคโนโลยีทางวิศวกรรมมาช่วยในการบริหาร เช่นการคำนวณวัตถุดิบเพื่อให้กระบวนการผลิตได้ผลที่คุ้มทุนที่สุด..


นี่คือแนวทางหรือบทบัญญัติส่วนหนึ่งที่ผู้บริหารควรนำมาปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้นครับ..




ตอนที่ 17 เทคนิคการเป็นหัวหน้างานที่ดี




ตอนที่ 17 เทคนิคการเป็นหัวหน้างานที่ดี


คุณธเนศเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลมาสองปีแล้ว แต่เขายังคงแสวงหาความรู้ทุกด้านอยู่เสมอ ล่าสุดก็เข้าร่วมสัมมนาเพื่อการเป็นหัวหน้างานที่ดี.. เพราะคุณธเนศคิดว่ายังมีเทคนิคการเป็นหัวหน้าอีกหลายอย่างที่ยังไม่รู้ค่ะ..


ถูกต้องครับ..เทคนิคการเป็นหัวหน้างานที่ดีนั้นมีมากมาย เรียนรู้กันได้ไม่จบสิ้น…


อย่างเช่นว่า ต้องเป็นหัวหน้าที่ได้รับความเชื่อใจจากลูกน้อง ถ้าลูกน้องไม่เชื่อใจก็จะถูกปกปิดความจริงและไม่ได้รับความร่วมมือในการทำงาน…


หัวหน้างานต้องรับฟังลูกน้องและเป็นปากเป็นเสียงให้ได้ สามารถถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่จำเป็น หรือเรียกว่าเป็นสถานีรับส่งข้อความระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้นั่นเอง..


นอกจากนี้ หัวหน้าที่ดี เวลาทำงานควรมีจิตใจที่หนักแน่น มั่นคง สม่ำเสมอ ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จนลูกน้องหวาดผวาทำงานไม่เป็นสุข…


รวมทั้งต้องวางตัวกับลูกน้องทุกคนด้วยการรักษาระยะได้อย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความลำเอียง และต้องเอาใจใส่ทุกข์สุขของลูกน้องอย่างทั่วถึง ที่สำคัญต้องเป็นหัวหน้าที่สามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกน้อง เป็นที่พึ่งของพวกเขาได้ตามความเหมาะสม…


หัวหน้าคนไหนอยากให้ลูกน้องยอมรับและพร้อมใจที่จะทำงานร่วมด้วยอย่างเต็มที่ ก็ต้องศึกษาเทคนิคเหล่านี้ เพื่อนำมาปรับปรุงตัวอยู่เสมอนะครับ




ตอนที่ 16 LEADERSHIP..เพื่อการเป็นหัวหน้างานที่ดี




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 16 LEADERSHIP..เพื่อการเป็นหัวหน้างานที่ดี


เมื่อรู้ว่าทางบริษัทติดต่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาจัดอบรมบรรดาหัวหน้าแผนก ในหัวข้อ"LEADERSHIP เพื่อการเป็นผู้นำ" ..คุณนิศากรหัวหน้าแผนกอิมพอร์ต-เอ็กซ์พอร์ตก็สงสัยว่า ในเมื่อทุกคนเป็นหัวหน้าอยู่แล้ว ทำไมยังต้องเข้ารับการอบรมในเรื่องนี้อีกคะ..


เพราะภาวะการเป็นผู้นำกับการเป็นหัวหน้านั้น…ไม่เหมือนกันนะครับ หัวหน้าคือตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ตามกฎบริษัท แต่ภาวะผู้นำเป็นลักษณะในตัวบุคคลที่ทำให้ผู้อื่นยอมรับนับถือ.. ซึ่งอักษรแต่ละตัวในคำว่า LEADERSHIP มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ ของผู้นำที่ดี เริ่มที่


L หมายถึง Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..


E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้..


A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย…


D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..


E ตัวถัดมาคือ


Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..


R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ…


S คือ Salute ทักทายปราศรัย...


H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..


I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..


และตัวสุดท้ายคือ P หมายถึง Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..


เพราะฉะนั้น นอกจากจะทำงานเก่งแล้ว หัวหน้างานยังต้องมีคุณสมบัติผู้นำเหล่านี้ด้วย เพื่อให้บริหารทั้งคนและงานได้อย่างมีประสิทธิผล ช่วยให้ผลผลิตของหน่วยงานสูงขึ้นตามไปด้วยครับ





ตอนที่ 15 เตรียมพนักงานอย่างไรให้พร้อมเป็นหัวหน้างาน




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 15 เตรียมพนักงานอย่างไรให้พร้อมเป็นหัวหน้างาน


สยามพนักงานฝ่ายการตลาดทั้งขยันและเก่ง ดังนั้น เมื่อผู้จัดการฝ่ายการตลาดลาออก คุณชาคริตนายใหญ่เลยมอบตำแหน่งนี้ให้เขารับผิดชอบทันที... แต่งานของพนักงานธรรมดา ๆ กับหัวหน้านั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง สยามเลยทำงานได้ไม่ตรงใจคุณชาคริตนัก.. เอ..จริง ๆ แล้วเรื่องนี้คุณชาคริตช่วยได้นะคะ...


ใช่ครับ... ก่อนที่จะเลื่อนพนักงานระดับปฏิบัติการขึ้นมาเป็นหัวหน้างานนั้น จำเป็นต้องจัดการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้พนักงานเสียก่อน เช่นอาจจะจัดหลักสูตรอบรมเพื่อให้พนักงานเข้าใจงานและบทบาทของเขาในอนาคต ซึ่งหลักสูตรที่ว่านี้ควรเกี่ยวกับทักษะต่างๆ ของหัวหน้างาน เช่น การมอบหมายงาน การจูงใจ การติดต่อสื่อสาร หรือการแก้ปัญหาลูกน้อง เป็นต้น.. นอกจากจะจัดหลักสูตรอบรมแล้ว ที่สำคัญ..ผู้บริหารควรมอบหมายงานในตำแหน่งหัวหน้าให้พนักงานทำชั่วคราว เป็นการเริ่มต้น เช่นอาจจะอนุญาตให้พนักงานดูแลงานของหัวหน้าบางอย่างตามความเหมาะสม และอย่าลืมประเมินผลเมื่อครบกำหนดเวลาเตรียมความพร้อม เพื่อให้พนักงานได้แก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ และทำให้เขาได้มีเวลาปรับตัวเพื่อเรียนรู้บทบาทของหัวหน้างานที่เขาต้องรับผิดชอบต่อไปครับ..





ตอนที่ 14 พนักงานจะเป็นหัวหน้าที่ดีได้ต้องใช้เวลา
















เนื้อหาสารคดี
ตอนที่ 14 พนักงานจะเป็นหัวหน้าที่ดีได้ต้องใช้เวลา



เมื่อคุณชาคริตพนักงานบัญชีได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็นหัวหน้าแผนก เขาก็ถูกส่งไปฝึกอบรมในหลักสูตรการบริหารการจัดการเป็นเวลา 3 วัน ในขณะที่งานประจำของเขาก็ยังล้นมืออยู่ ทำให้เขารู้สึกเครียด เพราะระยะเวลาในการเตรียมตัวสู่ตำแหน่งใหม่สั้นเหลือเกินค่ะ.....

จริง ๆ แล้วการมอบหมายตำแหน่งหัวหน้างานให้กับพนักงานระดับปฏิบัติการนั้น ผู้บริหารขององค์การควรกำหนดระยะเวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เพื่อให้เขาได้เตรียมตัวให้พร้อมรับตำแหน่งใหม่นี้ เช่นให้เขาได้สะสางงานเก่าให้เสร็จเรียบร้อย และเริ่มเรียนรู้งานเบื้องต้นสำหรับตำแหน่งใหม่สักระยะหนึ่งก่อน โดยผู้บริหารต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือพนักงาน หรือขอความร่วมมือจากผู้จัดการในการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆให้พนักงานก่อนเข้ารับตำแหน่ง รวมทั้งต้องพิจารณาและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเตรียมความพร้อม โดยพยายามมองหาจุดที่สามารถแนะนำให้พนักงานนำไปปรับปรุงได้ และในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ควรลดงานประจำของพนักงานที่เข้าฝึกอบรมลงชั่วคราว เพื่อให้เขาได้ใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้างานอย่างเต็มที่ครับ....






ตอนที่ 13 ย่ำอยู่กับที่.....มีหรือจะก้าวหน้า




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ ตอนที่ 13 ย่ำอยู่กับที่.....มีหรือจะก้าวหน้า


เวลาที่หัวหน้าเรียกประชุมให้ทุกคนในแผนก ช่วยกันคิดว่าจะมีวิธีปรับปรุงการทำงานอย่างไร คุณวันชัยมักนั่งเงียบ เพราะคิดว่าถ้าปรับปรุงงานก็ต้องเสียเวลาในการทำงานประจำ เอ..ถ้าคุณวันชัยคิด อย่างนี้ อนาคตของคุณวันชัยจะเป็นอย่างไรคะ..


คนทำงานที่กลัวการเปลี่ยนแปลงระบบการปฏิบัติงาน หรือมีความคิดต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสะสมอยู่ในจิตใจอย่างคุณวันชัยนั้น จะไม่มีโอกาสได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทำงานของตนให้ดีขึ้น ในที่สุดจะถูกคนอื่นแซงหน้าไป ฉะนั้นถ้าอยากมีความก้าวหน้าต้องหมั่นเตือนตนเองอยู่เสมอว่า สิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบันยังไม่ดีพอ ต้องปรับปรุงให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ต้องเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถทำได้ และยอมรับนับถือในคุณค่าของตนเอง....


แนะนำให้เริ่มเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ง่ายๆก่อน แล้วค่อยไปสู่สิ่งที่ยากขึ้น เพราะถ้าเป็นเรื่องง่ายก็จะเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จได้ไม่ยาก ซึ่งคนเราเมื่อทำครั้งแรกแล้วประสบความสำเร็จ ก็จะเกิดกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่นๆ ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปในอนาคต... อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างต่อเนื่อง หยุดนิ่งไม่ได้ เพราะการย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่ผู้อื่นก้าวไปข้างหน้า ก็เท่ากับเรากำลังถอยหลังลงไปทุกวันครับ




วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

ตอนที่ 12 SAFTY FIRST




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 12 SAFTY FIRST


พนักงานในโรงงานของคุณสมชาติ มักเกิดปัญหาในการทำงาน บางคนประสบอุบัติเหตุรุนแรง บางคนก็ป่วย ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง คุณสมชาติต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าซ่อมแซมเครื่องจักรบ่อยๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เอ..ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นจะแก้ไขอย่างไรคะ


ความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารต้องให้ความใส่ใจ เพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีของพนักงาน ผู้บริหารควรหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือภาวะที่ไม่ปลอดภัยในการทำงานโดยกระตุ้นให้พนักงานทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยโดยใช้หลัก 3 E..


E ตัวแรกคือ..Engineering คือการใช้วิชาการทางวิศวกรรมสาขาต่างๆ เช่น ออกแบบอาคาร เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการทำงานอย่างปลอดภัย...


E ตัวที่สองคือ Education คือการให้ความรู้ความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร เช่นอบรมให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และเสริมสร้างความปลอดภัย รวมทั้งสร้างจิตสำนึกของพนักงานไม่ให้ประมาทในการทำงานอีกด้วย


ส่วน E ตัวสุดท้ายคือ Enforcement คือการออกกฎเกณฑ์หรือระเบียบเพื่อการทำงานอย่างปลอดภัย เช่นมีข้อกำหนดที่ให้ทำและห้ามทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายของทางราชการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานครับ..




ตอนที่ 11 5 ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 11 5 ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต


คุณขวัญใจต้องออกไปหาลูกค้าบ่อยๆ ไม่ค่อยมีเวลาดูแลจัดการเอกสารบนโต๊ะ เมืออยู่ออฟฟิศเธอเลยต้องเสียเวลาค้นหาเอกสารนานมาก บางทีก็หาไม่เจอต้องพิมพ์กันใหม่ หรือไม่ก็ขอสำเนาจากแผนกอื่น.. อย่าปล่อยให้เป็นแบบนี้เลยนะคะ เปลืองเวลาทำงาน จัดการด้วยกิจกรรม 5 ส ดีกว่าค่ะ


กิจกรรม 5 ส เป็นแนวคิดจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน เพื่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย และมีระเบียบ..


5 ส ประกอบด้วย


1..สะสาง คือการแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็น และขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไป

2..สะดวก คือการจัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของต่างๆอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย

3..สะอาด คือการทำความสะอาด เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน

4..สุขลักษณะ คือการรักษามาตรฐานการปฏิบัติ 3 ส แรกที่ดีไว้ และค้นหาสาเหตุต่างๆเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น

5..สร้างนิสัย


คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน 5ส ของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ผลที่ได้จากการทำกิจกรรม 5 ส ก็คือ สถานที่ทำงานจะสะอาดและเป็นระเบียบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ต้นทุนลดลง ส่งมอบสินค้าได้ทันเวลา และมีความปลอดภัยในการทำงานด้วยครับ..




ตอนที่ 10 KAIZEN..ปรับปรุงงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 10 KAIZEN..ปรับปรุงงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต


แต่ก่อนคุณจุ๋มต้องอาศัยแรงงานผู้ชายกำยำถึง 2 คนในการเคลื่อนย้ายตู้เอกสารขนาดใหญ่เข้าไปเก็บในสำนักงานเมื่อถึงเวลาเลิกงาน แต่เดี๋ยวนี้คุณจุ๋มนำหลักการ KAIZEN มาใช้ในบริษัท ทำให้เธอค้นพบวิธีที่ดีกว่า ไม่ต้องอาศัยแรงงานผู้ชายในการเคลื่อนย้ายตู้อีกต่อไป หลักการ KAIZEN จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ไปติดตามกันค่ะ..


KAIZEN เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "การปรับปรุง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ หัวใจสำคัญของหลักการ KAIZEN คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด โดยการใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน ด้วยการลงทุนเพียงเล็กน้อย และก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทีละน้อย ๆ แต่ค่อยๆเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากตัวเองจากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่น เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น เช่นในกรณีของคุณจุ๋ม เมื่อเธอนำหลักการ KAIZEN มาใช้ เธอจึงหาวิธีปรับปรุงการเคลื่อนย้ายตู้ให้ง่ายขึ้น โดยการใส่ลูกล้อให้กับตู้เอกสาร ทำให้ทุกคนสามารถเคลื่อนย้ายตู้เอกสารได้ง่ายขึ้น และยังช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้นด้วยครับ…




ตอนที่ 9 T-Q-M..สร้างคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 9 T-Q-M..สร้างคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า


ระยะหลังนี้การส่งสินค้าของบริษัทล่าช้าจนลูกค้าเริ่มตำหนิ

คุณภาณุผู้จัดการเลยต้องหาสาเหตุว่าล่าช้าเกิดขึ้นได้อย่างไร พบว่าปัญหาเกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ฝ่ายส่งสินค้าบอกว่าฝ่ายผลิตช้า ฝ่ายผลิตก็ว่าฝ่ายจัดซื้อสั่งวัตถุดิบสำรองไว้น้อย..เรื่อยไปจนถึงฝ่ายการตลาด.. แหม..น่าหนักใจแทนคุณภาณุนะคะ


กรณีนี้แนะนำให้ใช้เทคนิค T-Q-M.. ที่ย่อมาจาก Total Quality Management หรือการบริหารคุณภาพโดยรวม ภายใต้แนวความคิดที่ว่า จะผลิตสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด…


โดย T-Q-M จะเน้นการดำเนินงานร่วมกันโดยพนักงานทุกคนทั่วทั้งองค์การ คือพนักงานแต่ละคนต้องตระหนักอยู่เสมอว่า กระบวนการถัดไปคือลูกค้าของเรา เพราะฉะนั้นต้องทำหน้าที่ในส่วนของตนให้เสร็จสมบูรณ์ ได้คุณภาพก่อนที่จะส่งงานให้กระบวนการถัดไป.. หากมีงานเสียไม่ได้คุณภาพ พนักงานทุกคนก็จะไม่ปล่อยปละละเลย หรือส่งต่อไปยังกระบวนการถัดไป จะดำเนินการแจ้งผู้รับผิดชอบให้แก้ไขอย่างทันท่วงที เมื่อทุกคนมีจิตสำนึกที่จะดำเนินงานตามแนวทาง TQM นี้ ก็จะทำให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ส่งมอบถึงมือลูกค้าตามเวลาที่กำหนด ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า เพราะไม่มีของเสียหลุดไปถึงมือลูกค้าแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตของบริษัทอีกด้วย




ตอนที่ 8 ระบบ T-P-M ..เพื่อเครื่องจักรและผู้ใช้งาน








.
เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 8 ระบบ T-P-M ..เพื่อเครื่องจักรและผู้ใช้งาน




ทั้งๆ ที่เครื่องจักรในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางของคุณพรต ไม่ใช่ของเก่า แต่ทำไมถึงได้เกิดปัญหากับเครื่องจักรเป็นประจำทุกวัน เดี๋ยวเครื่องนี้น้ำมันรั่ว เดี๋ยวเครื่องนั้นอุดตัน.. เฮ้อ..กว่าจะเดินเครื่องทำงานได้ก็เสียเวลาไม่ใช่น้อยเลยค่ะ..




อย่าปล่อยให้ปัญหาเครื่องจักรมาเป็นตัวทำลายคุณภาพสินค้าอยู่เลยนะครับ


ใช้ระบบ T-P-M มาแก้ไขดีกว่า.. T-P-M ย่อมาจาก Total Productive Maintenance คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ปรัชญาของ TPM อยู่ที่การบำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรหยุดหรือเสียก่อนเวลาอันควร




ดังนั้น กิจกรรมที่สำคัญของ TPM คือการที่พนักงานทุกคนที่เป็นผู้ใช้เครื่องจักร-อุปกรณ์นั้นๆ มีส่วนร่วมในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องจักร-อุปกรณ์ที่ควบคุมให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอด้วยตนเอง (Self-Maintenance)




โดยไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายซ่อมบำรุงเท่านั้น เช่นตรวจสอบสภาพเครื่องจักรอุปกรณ์ประจำวัน การหล่อลื่นเครื่องจักรอุปกรณ์ เปลี่ยนอะไหล่ที่หมดอายุการใช้งาน การซ่อมแซมง่ายๆ หมั่นสังเกตค้นหาสิ่งผิดปกติ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องจักร และทำความสะอาดเบื้องต้น เป็นต้น .. ระบบ T-P-M จะช่วยลดปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง พร้อมกับขจัดปัญหาการผลิตงานที่ไม่ได้คุณภาพให้หมดไปได้..







ตอนที่ 7 Benchmarking...เปรียบเทียบเพื่อปรับปรุง




.
เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 7 Benchmarking...เปรียบเทียบเพื่อปรับปรุง


คุณอรไม่ชอบเลียนแบบ ..เมื่อมีผู้เสนอให้ใช้วิธี Benchmarking หรือการดูตัวอย่างที่ดีจากบริษัทอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงงาน เธอจึงค้านหัวชนฝา อย่างนี้ต้องอธิบายสักนิดแล้วล่ะว่า Benchmarking จริงๆ แล้วไม่ใช่การเลียนแบบ...


มีคำถามอยู่ 4 ข้อที่จะช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำ Benchmarking ได้ง่ายขึ้น นั่นคือ


1.เราอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในตลาด?


2.ใครทำได้ดีที่สุด?.


3.เขาทำได้อย่างไร?


4. และเราจะทำให้ดีกว่าเขาได้อย่างไร?


เช่น เรากำหนดจะปรับปรุงกระบวนการส่งมอบชิ้นงาน จากสายการผลิตหนึ่งไปสู่อีกสายการผลิตหนึ่ง เริ่มต้นจาก ประเมินตนเอง พบว่าใช้เวลาส่งมอบนาน 7 นาที จากนั้นจึงค้นหาข้อมูลว่าหน่วยงานใดมีกระบวนการส่งมอบชิ้นงานน้อยกว่า เมื่อได้แล้วก็คัดเลือกหน่วยงานนั้นขึ้นมาเป็นตัว Benchmark หรือเกณฑ์ที่เราต้องการให้ไปถึง โดยศึกษาว่าเขามีวิธีปฏิบัติ หรือ Best Practices อย่างไร จากนั้นจึงนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเอง จะเห็นว่า Benchmarking ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ แต่เป็นการเสาะหาและคัดเลือกวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ Best Practices จากหน่วยงานอื่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับการทำงานในหน่วยงานของตนเองครับ





ตอนที่ 6 P-D-C-A ...วงจรการปรับปรุง




เนื้อหาสารคดี ตอนที่ 6 P-D-C-A ...วงจรการปรับปรุง


งานเขียนคอลัมน์คุณแม่ดูแลลูกที่น้องจูน รับผิดชอบนั้น เมื่อถึงมือบก.มักต้องแก้ไขประจำ บางทีต้องเปลี่ยนเรื่องกันใหม่เลยทีเดียว.. แม้จะเพิ่งทำงานแต่น้องจูนก็อยากผิดพลาดให้น้อยลงกว่าเดิม..จะทำอย่างไรดีคะ


กรณีนี้แนะนำให้ใช้เทคนิค P-D-C-A วงจรการปรับปรุง ซึ่งย่อมาจาก Plan, Do, Check และ Act ..Plan ก็คือวางแผน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และกำหนดวิธีแก้ไข


เช่น กรณีน้องจูนอาจเป็นเพราะขาดประสบการณ์ในการเขียนและการเลี้ยงดูเด็ก เพราะฉะนั้นต้องทำความเข้าใจทั้งสองเรื่องนี้ให้มากขึ้น..


จากนั้นก็ Do คือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เช่นพัฒนาทักษะการเขียนโดยดูจากงานเขียนของคนเก่งๆ..


เมื่อปฏิบัติแล้ว ก็ต้อง Check คือตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ บก.แก้ไขงานน้อยลงหรือเปล่า แล้วบันทึกเพื่อนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อไป


จากนั้นก็ Act คือดำเนินการให้เหมาะสม


ถ้าวิธีการใหม่ที่ได้ ใช้ได้ผล ก็ให้ยึดเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่หากวิธีการใหม่ที่ได้ ยังไม่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น ก็ต้องหาทางปรับปรุงต่อไปอีก... ครับ..P-D-C-A เป็นวงจรต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ยึดติดกับความสำเร็จหรือผลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คุณผู้ฟังลองนำไปใช้ดูนะครับ จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นครับ





ตอนที่ 5 ใครรับผิดชอบการเพิ่มผลผลิต




เนื้อหาสารคดี ตอนที่ 5 ใครรับผิดชอบการเพิ่มผลผลิต


เพราะเข้าใจว่าการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เป็นหน้าที่ของคุณชัชวาล..วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต คุณอ้อยอยู่ฝ่ายธุระการก็เลยไม่สนใจ ส่วนคุณชัชวาลเองก็มองว่าคนรับผิดชอบเรื่องนี้น่าจะเป็นกรรมการบริหารบริษัทมากกว่า เอ.. จริงๆ แล้วการเพิ่มผลผลิตเป็นหน้าที่ของใครกันแน่คะ..


การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริหาร หรือใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้นนะครับ แต่หมายถึงความรับผิดชอบของทุกคนในองค์การ โดยเฉพาะบริษัทหรือโรงงาน เพียงแต่ในการริเริ่มนั้น ควรจะเริ่มมาจากผู้บริหารระดับสูง ไปสู่พนักงานระดับล่าง โดยผู้บริหารควรเข้าใจและใส่ใจกับการเพิ่มผลผลิตและส่งเสริม สนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมเพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันพนักงานเองก็ต้องให้ความร่วมมือ ทำงานอย่างเต็มความสามารถและเพิ่มทักษะการทำงานให้สูงขึ้น...


หากทุกฝ่ายสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานได้ ตามแนวคิดในการเพิ่มผลผลิต ย่อมสร้างประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการได้ในที่สุดครับ