วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

อาหารสมอง ตอนที่ 4 เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (2 )




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 4 เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (2 )


เมื่อคุณโอฬารเริ่มนำระบบต่างๆมาพัฒนาคนองค์การ พนักงานก็ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังช่วยให้ผลผลิตขององค์การเพิ่มสูงขึ้นด้วย เอ…..คุณโอฬารใช้วิธีใดบ้างนะ


ผู้บริหารสามารถหาวิธีการหรือเทคนิคที่เหมาะสม มาใช้เพื่อพัฒนาคนของตนได้หลายวิธี


วิธีแรกคือ การส่งไปทำงานเฉพาะกิจ โดยส่งพนักงานที่จะพัฒนาเข้าไปทำงานที่หน่วยงานภายนอกระยะหนึ่ง ในบทบาทที่แตกต่างจากการทำงานที่เดิม เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้เห็นโอกาสในการทำงานของหน่วยงานอื่น


วิธีที่สองคือ การมอบหมายให้ทำโครงการ โดยมอบหมายให้พนักงานทำโครงการใดโครงการหนึ่ง เช่นการสำรวจปัญหาในการทำงาน แล้วให้จัดทำรายงานเสนอ


วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานเห็นและเข้าใจการทำงานในส่วนต่างๆของหน่วยงาน ทั้งยังทำให้เขารู้สึกว่าเป็นสิ่งท้าทายและอยากเรียนรู้


และวิธีที่สุดท้ายคือ การให้เป็นผู้ติดตาม โดยมอบหมายให้พนักงานติดตามหรือคอยเป็นผู้ช่วยเจ้าของงาน โดยไม่ต้องระบุขอบเขตหรือความรับผิดชอบที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานได้ทราบว่าเขาจะต้องเผชิญกับอะไรบ้างถ้าได้ทำงานในตำแหน่งนั้นๆ และยังทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างเจ้าของงานกับพนักงานที่เข้ารับการพัฒนาอีกด้วยครับ…..





อาหารสมอง ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )




เนื้อหาสารคดี

ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )


คุณโอฬารรู้ดีว่าการพัฒนาคนในองค์การมีความสำคัญและช่วยเพิ่มผลผลิตได้ เขาจึงเริ่มหาวิธีพัฒนาคนในองค์การในลักษณะต่างๆกัน ส่วนจะมีวิธีใดบ้างไปติดตามกันเลยค่ะ……


การพัฒนาคนในองค์การสามารถทำได้หลายวิธี วิธีแรกเป็นการแนะนำงานโดยหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา โดยให้คำแนะนำและช่วยเหลือพนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เขาเรียนรู้ทักษะหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ สำหรับใช้แก้ปัญหาในการทำงาน หรือช่วยพัฒนาการทำงานในสายอาชีพ….


วิธีนี้เป็นการพัฒนารายบุคคลที่มีจุดเน้นชัดเจน ลงลึกในรายละเอียด และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานจริงๆ


วิธีที่สองคือระบบพี่เลี้ยง โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำพนักงานในระหว่างการพัฒนา


วิธีนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน และสามารถถ่ายทอดได้รวดเร็ว แต่คนที่รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงต้องทำด้วยความเต็มใจ และไม่ใช้วิธีการแบบสั่งอย่างเดียว


ส่วนวิธีที่สามคือ การฝึกงาน โดยส่งพนักงานไปทำงานในฝ่ายต่างๆของหน่วยงาน ใช้เวลาฝ่ายละไม่เกิน 6 เดือน เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่หลากหลาย


วิธีนี้ช่วยให้หัวหน้าสามารถพิจารณาได้ว่าพนักงานผู้นั้นเหมาะกับการทำงานในฝ่ายใดครับ




อาหารสมอง ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 3 : เทคนิคการพัฒนาพนักงานในองค์การ (1 )


คุณโอฬารรู้ดีว่าการพัฒนาคนในองค์การมีความสำคัญและช่วยเพิ่มผลผลิตได้ เขาจึงเริ่มหาวิธีพัฒนาคนในองค์การในลักษณะต่างๆกัน ส่วนจะมีวิธีใดบ้างไปติดตามกันเลยค่ะ……


การพัฒนาคนในองค์การสามารถทำได้หลายวิธี


วิธีแรกเป็นการแนะนำงานโดยหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา โดยให้คำแนะนำและช่วยเหลือพนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เขาเรียนรู้ทักษะหรือขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ สำหรับใช้แก้ปัญหาในการทำงาน หรือช่วยพัฒนาการทำงานในสายอาชีพ….


วิธีนี้เป็นการพัฒนารายบุคคลที่มีจุดเน้นชัดเจน ลงลึกในรายละเอียด และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานจริงๆ


วิธีที่สองคือระบบพี่เลี้ยง โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำพนักงานในระหว่างการพัฒนา


วิธีนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน และสามารถถ่ายทอดได้รวดเร็ว แต่คนที่รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงต้องทำด้วยความเต็มใจ และไม่ใช้วิธีการแบบสั่งอย่างเดียว


ส่วนวิธีที่สามคือ การฝึกงาน โดยส่งพนักงานไปทำงานในฝ่ายต่างๆของหน่วยงาน ใช้เวลาฝ่ายละไม่เกิน 6 เดือน เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่หลากหลาย


วิธีนี้ช่วยให้หัวหน้าสามารถพิจารณาได้ว่าพนักงานผู้นั้นเหมาะกับการทำงานในฝ่ายใดครับ




อาหารสมอง ตอนที่ 2 : ขั้นตอนการทำ GP




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 2 : ขั้นตอนการทำ GP


ในตอนที่แล้วเราแนะนำคุณนพดลไปว่า GP คือกระบวนการพัฒนาและจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์การ หลายคนเลยอยากรู้ต่อไปค่ะว่า ขั้นตอนการนำ GP มาใช้เพิ่มผลผลิตในองค์การมีกี่ขั้นตอนคะ


การนำ GP มาใช้ในองค์การมี 6 ขั้นตอนดังนี้ครับ


1. ขั้นเตรียมการ เป็นการแต่งตั้งทีมงาน ผังโครงสร้าง และกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งทำการสำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินการ


2. วางแผน โดยระบุและประเมินปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงสาเหตุ เพื่อจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาตามความรุนแรงหรือเร่งด่วน


3. การระบุ ประเมิน และคัดเลือกแนวทาง GP ไปปฏิบัติ เช่นการระบุถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการระดมความคิดเห็นจากหลายๆฝ่าย และคัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดกับองค์การนั้นๆ


4. การนำไปปฏิบัติ โดยกำหนดแผนและขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อปฏิบัติตามแผน รวมทั้งมีการฝึกอบรม เพื่อสร้างจิตสำนึกและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้อง


5. การเฝ้าระวัง เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน และทบทวนผลการดำเนินงานของผู้บริหาร


6. การรักษาระบบ โดยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องครับ…





อาหารสมอง ตอนที่ 1: GP คืออะไร




อาหารสมอง 2001 โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ


เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 1: GP คืออะไร


คุณนพดลได้ยินเจ้านายบอกว่า ถ้าองค์การใดนำกระบวนการ GP มาใช้อย่างถูกต้อง จะพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่อง แถมยังช่วยลดต้นทุนและความสูญเสียต่างๆ ได้อีกมาก คุณนพดลเลยอยากรู้ว่า กระบวนการ GP คืออะไรคะ


GP หรือ Green Productivity เป็นแนวคิดในการป้องกันและลดมลพิษที่ต้นเหตุ เน้นให้เกิดการเพิ่มผลผลิตโดยตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม …


แนวคิดของ GP ก็เหมือนกับวงจรของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เพราะสามารถแบ่งออกเป็นช่วงการวางแผน ,การนำไปปฏิบัติ, การติดตามและวัดผล รวมทั้งการทบทวนตัดสินผลการดำเนินการ…


แต่ต่างกันเล็กน้อยตรงที่ การทำ GP ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การจัดทำเอกสาร ควบคุมเอกสาร และจัดทำบันทึก


ดังนั้นจึงเหมาะกับ SMEs หรือหน่วยงานที่ยังไม่มีความพร้อมในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001


แต่ท้ายที่สุดแล้ว การนำระบบ GP และ ISO 14001 ไปใช้ จะทำให้องค์การนั้นๆ มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งนั่นหมายความว่าองค์การจะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งตามแนวความคิดของ KAIZENครับ..



จาก 1 ใน อาหารสมอง 2001 โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มีจำนวน 40 ตอน ( ตอนที่ 1 - 40 )




ตอนที่ 24 E-C-R-S ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน




เนื้อหาสารคดี


ตอนที่ 24 E-C-R-S ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน


คุณสุรีย์..เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลพนักงาน เริ่มคิดมาก เพราะมีเสียงบ่นว่าทำงานช้า ทั้งที่ก็ทำเต็ม Speed แล้ว แต่ขั้นตอนที่บริษัทวางไว้ซิคะ ..ซับซ้อนเหลือเกิน คือเมื่อรู้ชื่อคนมาติดต่อ ก็ต้องไปค้นที่บัตรหมายเลขก่อน ว่าชื่อนี้อยู่ในแฟ้มหมายเลขอะไร พอได้หมายเลขแฟ้มนั่นหล่ะค่ะ ถึงค่อยไปหาแฟ้มที่ต้องการ ยังกะเล่นเกมส์หาขุมทรัพย์อย่างนี้ ..จะไม่ช้าได้ยังไงคะ


กรณีนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณสุรีย์แล้วหล่ะครับ แต่เกิดจากระบบการทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น แนะนำให้ใช้หลัก E-C-R-S มาแก้ไขครับ


E ย่อมาจากคำว่า Eliminate คือขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น


C มาจาก Combine คือรวมขั้นตอนหรือวิธีการทำงานเข้าด้วยกัน


R มาจาก Re-arrange จัดเรียงใหม่ ปรับขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


และ S คือ Simplify ทำให้ง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากซับซ้อนของงาน


หลัก E-C-R-S นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดพร้อมกัน จะเลือกใช้ E C R หรือ S ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ตามความเหมาะสม


เช่นกรณีคุณสุรีย์ อาจเพียงแค่ Eliminate ตัดขั้นตอนหมายเลขแฟ้มออกไป แล้ว Re-arrange ใหม่ด้วยการเรียงแฟ้มตามตัวอักษรและทำดัชนีให้เห็นง่าย ๆ แค่นี้ก็ลดขั้นตอน ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น …


คุณผู้ฟังหล่ะครับ งานที่ทำอยู่ หรือแผนกที่คุณรับผิดชอบ มีขั้นตอนไหนที่สามารถทำ E-C-R-S หรือ ขจัดทิ้ง รวมกัน จัดเรียงใหม่ ทำให้ง่ายขึ้นได้บ้างหรือไม่ ถ้ามีก็อย่ารอช้าที่จะพัฒนางานให้ดีขึ้นนะครับ




ตอนที่ 24 E-C-R-S ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน

เนื้อหาสารคี

ตอนที่ 24 E-C-R-S

ลดขั้นตอนเพื่อประสิทธิภาพงาน คุณสุรีย์..เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลพนักงาน เริ่มคิดมาก เพราะมีเสียงบ่นว่าทำงานช้า ทั้งที่ก็ทำเต็ม Speed แล้ว แต่ขั้นตอนที่บริษัทวางไว้ซิคะ ..ซับซ้อนเหลือเกิน คือเมื่อรู้ชื่อคนมาติดต่อ ก็ต้องไปค้นที่บัตรหมายเลขก่อน ว่าชื่อนี้อยู่ในแฟ้มหมายเลขอะไร พอได้หมายเลขแฟ้มนั่นหล่ะค่ะ ถึงค่อยไปหาแฟ้มที่ต้องการ ยังกะเล่นเกมส์หาขุมทรัพย์อย่างนี้ ..จะไม่ช้าได้ยังไงคะ

กรณีนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณสุรีย์แล้วหล่ะครับ แต่เกิดจากระบบการทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น แนะนำให้ใช้หลัก E-C-R-S มาแก้ไขครับ

E ย่อมาจากคำว่า Eliminate คือขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น

C มาจาก Combine คือรวมขั้นตอนหรือวิธีการทำงานเข้าด้วยกัน

R มาจาก Re-arrange จัดเรียงใหม่ ปรับขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

และ S คือ Simplify ทำให้ง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากซับซ้อนของงาน

หลัก E-C-R-S นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดพร้อมกัน จะเลือกใช้ E C R หรือ S ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ตามความเหมาะสม

เช่นกรณีคุณสุรีย์ อาจเพียงแค่ Eliminate ตัดขั้นตอนหมายเลขแฟ้มออกไป แล้ว Re-arrange ใหม่ด้วยการเรียงแฟ้มตามตัวอักษรและทำดัชนีให้เห็นง่าย ๆ แค่นี้ก็ลดขั้นตอน ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น …

คุณผู้ฟังหล่ะครับ งานที่ทำอยู่ หรือแผนกที่คุณรับผิดชอบ มีขั้นตอนไหนที่สามารถทำ E-C-R-S หรือ ขจัดทิ้ง รวมกัน จัดเรียงใหม่ ทำให้ง่ายขึ้นได้บ้างหรือไม่ ถ้ามีก็อย่ารอช้าที่จะพัฒนางานให้ดีขึ้นนะครับ